ทุกวันนี้ เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในทุกๆที่ ไม่เว้นแม้แต่ในห้องเรียน เพียงแค่มีมือถือ Smart Phone กับสัญญาณ internet แรงๆ เพียงแค่สองอย่างนี้ก็สามารถเอื้ออำนวยให้เด็กป.5 บางคนเมินเฉยต่อการใช้ Dictionary ที่เป็นกระดาษไปเลยทีเดียว เด็กยุคนี้สามารถถ่ายภาพนิ่งแล้วสแกนตัวหนังสือไทยทั้งหน้าแล้วใช้App แปลทั้งหน้า จากนั้นค่อยว่ากันอีกทีว่าจะลอกทั้งหน้า หรือลอกบางส่วน หรือเอาแค่เป็นแนวทางในการแปลแล้วแต่งข้อความขึ้นมาใหม่ ยกตัวอย่างการใช้งานด้วยมือถือ Smart Phone เช่น Google Translate ในมือถือ Android ตามคลิปด้านล่างนี้ ดูไฮเทคมากมายกันเลยทีเดียว แปลได้สองทาง 20 ภาษา แต่ภาษาไทยแปลได้เฉพาะ อังกฤษเป็นไทย ส่วนไทยเป็นอังกฤษยังทำไม่ได้นะครับ
VIDEO
จะเห็นว่าเมื่อติดตั้งApp แล้วเพียงแค่หันกล้องไปเจอเอาตัวอักษรภาษาอังกฤษ เครื่องก็จะแปลเป็นภาษาที่เรากำหนดไว้ให้เลย จะเห็นว่าสะดวกมาก... อ้าว อย่างนี้ก็ไม่ต้องเพิ่งดิกชันนารีที่เป็นกระดาษอีกต่อไปสิ ผิดครับ ดิกชันนารีที่เป็นเล่มๆมีความสำคัญ และจำเป็นมากสำหรับเด็กนักเรียน ป.4 -5 -6
ทำไมล่ะ?
1) การจะเปิดดิกชันนารีเป็นเล่ม เมื่อฝึกจนชำนาญแล้วใช้เวลาเปิดต่อคำน้อยกว่าการเปิด App ในโทรศัพท์SmartPhone โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็น App ที่ต้องต่อสัญญาณเน็ต... นักเรียนในห้องครูเอกที่เก่งๆ เปิดดิกชันนารีได้โดยการเปิดเพียง 1-2 ครั้ง ใช้เวลา 3 - 10 วินาทีต่อการหาคำศัพท์หนึ่งคำ.. ถือว่าเร็วและเร็วกว่าการเปิดApp อย่างแน่นอน
2) การเปิดดิกชันนารีเป็นเล่มบังคับให้ต้องแม่นในพื้นฐาน A B C... Z เป็นการทบทวนอยู่บ่อยๆ สม่ำเสมอ การเปิดดิกชันนารีให้เร็วนั้นเป็นทักษะ(skill) ต้องมีการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ถ้านานๆ เปิดทีหนึ่งก็กินเวลานานอยู่เหมือนกัน(หลายวินาที)
3) ดิกชันนารีดีๆ บางเล่มมีตัวอย่างประโยคง่ายๆ ทำให้ผู้เรียนทำความเข้าใจชนิดของคำและการวางตำแหน่งในประโยคได้ง่ายกว่า โดยสังเกตจากตัวอย่างที่อยู่ในดิกชันนารีนั่นล่ะ
เดี๋ยวว่างๆ จะเขียนเรื่องเทคนิคการเปิดดิกชันนารีให้เร็วปรื้ดๆ ที่เด็กนักเรียนแถวนี้ชื่นชอบ กรี๊ดกร๊าดกันมากมายให้ลองเล่นกันดูนะครับ โปรดติดตามตอนต่อไป